ใครเป็นใครใน”ปัญญาวุฒิมูลนิธิ”

ปัญญาวุฒิมูลนิธิ หรืออีกนัยหนึ่ง มูลนิธิปัญญาวุฒิ ก่อเกิดขึ้นจาก”เบญจภาคี” หรืออาจจะเรียกให้โก้เก๋ไก๋ชไนเดอร์ว่า”Fantastic-5” ก็ไม่น่าจะเกินเลย5 หนุ่ม จาก 5 ครอบครัว พกพาเอาองค์ความรู้-ทักษะ-ประสบการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย มาหลอมรวมกันเป็นขบวนการก่อการดี ด้วยอานุภาพแห่งขุมพลัง”ธรรมจัดสรร”

“คัมภีร์ ภาคสุวรรณ์”

ประธานกรรมการ ซึ่งถือเป็น”พี่ใหญ่”ของปัญญาวุฒิมูลนิธิ…ชุ่มโชกด้วยประสบการณ์ชีวิตหลากมิติ เคยดำรงบทบาทเป็นคนในสายงานความมั่นคง เคยผ่านสมรภูมิสู้รบแบบไร้รูปแบบมาแล้ว ก่อนที่จะวางมือหักเหวงจรชีวิตเข้าสู่โลกของภาพยนตร์และสารคดีเต็มตัว“คัมภีร์ ภาคสุวรรณ์” คือผู้กำกับภาพยนตร์คนเดียวที่จับเอาวงคาราบาวแบบเต็มวง มาแสดงร่วมกับ”ลุงหงา คาราวาน”ประกบกับ2 ดาราสาวดาวค้างฟ้า..สุพรรณษา เนื่องภิรมย์ และ อุทุมพร ศิลาพันธ์ ในภาพยนตร์เรื่อง”เสียงเพลงแห่งเสรีภาพ”“คัมภีร์ ภาคสุวรรณ์” คือเจ้าของรางวัลตุ๊กตาทอง ครั้งที่ 13 ปี 2524 ในฐานะผู้ออกแบบและสร้างฉากยอดเยี่ยม ในภาพยนตร์เรื่อง”มหาราชดำ” สะท้อนความยิ่งใหญ่เกรียงไกรในความเป็นนักรบของ”พระองค์ดำ” หรือ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช

“ปรัชญา ปิ่นแก้ว”

กรรมการอีก 1 หนุ่มของปัญญาวุฒิมูลนิธิ ที่มีความเจนจัดในการเล่าเรื่อง ที่มีเป้าหมายสร้างแรงบันดาลใจ ด้วยความเชื่อว่าการสร้างแรงบันดาลใจแก่มนุษย์ เป็นสิ่งที่มีคุณค่าแก่ชีวิต“ปรัชญา ปิ่นแก้ว” คือผู้สร้าง..ผู้บุกเบิก และผู้กำกับภาพยนตร์ระดับตำนานของวงการภาพยนตร์ไทยภาพยนตร์”ต้มยำกุ้ง” ผลงานการกำกับของ”ปรัชญา ปิ่นแก้ว” น่าจะเป็นภาพยนตร์ไทยเรื่องแรกและเรื่องเดียวที่ทำสถิติสูงสุดของการเข้าฉายในอเมริกันบ๊อกซ์ออฟฟิส ซึ่งยังไม่มีภาพยนตร์ไทยเรื่องใดลบล้างลงได้ความเป็นนักสร้างสรรค์ และกล้าบุกเบิกทำสิ่งใหม่ๆ ทำให้”ปรัชญา ปิ่นแก้ว” กลายเป็นผู้บุกเบิกการทำมิวสิควิดีโอ 3 มิติ เป็นครั้งแรกของเมืองไทย และเป็นผู้สร้างสรรค์ภาพยนตร์เฉลิมพระเกียรติ”ใต้ร่มพระบรมราชจักรีวงศ์” ฉายบนอุโมงโค้งครึ่งวงกลม ยาว 20 เมตร เพื่อถวายให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินี ทอดพระเนตร ในวโรกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมพสกนิกรย่านถนนเยาวราช เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 “

“รัฐธนินท์ มติศิลป์”

คืออีก 1 หนุ่มกรรมการ ของปัญญาวุฒิมูลนิธิ ที่อาสาต่อยอดความเป็นครูบาอาจารย์ด้านมานุษยวิทยา…ความเป็นนักผลิตสารคดี “เที่ยวไปตามใจฝัน”…ความเป็นมันสมองของกองบรรณาธิการนิตยสารคลังสมองเพื่อชีวิต มาช่วยกันสร้างสรรค์พัฒนางานด้านสื่อหลากมิติ เพื่อประโยชน์สาธารณะ

“สุปัน รักเชื้อ”

คือกรรมการ ปัญญาวุฒิมูลนิธิ ที่ชุบตัวในสนามข่าวมาอย่างยาวนาน เคยทำหน้าที่แม่ทัพบัญชาการข่าวมาแล้วหลายสำนัก และได้รับความไว้วางใจให้ทำหน้าที่ อุปนายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย..กรรมการสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย…กรรมการคัดสรรรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน(ซีไรต์) ปี 2563…กรรมการตัดสินวรรณกรรมพานแว่นฟ้า ของรัฐสภา ปี 2561-2563
“สุปัน รักเชื้อ” นับเป็นตัวอย่างของคนที่สะกดคำว่า”แพ้”ไม่เป็น และไม่รู้จักคำว่า”ท้อ-ถอย”เขาเป็นเด็กบ้านนอก จากครอบครัวชาวนาล้มละลาย ค่อยๆสร้างเนื้อสร้างตัวจากอาชีพกรรมกรโรงงาน แล้วขยับไปทำงานกับองค์กรพัฒนา ก่อนที่จะหักเหเข้าสู่วงโคจรของนักวิชาชีพสื่อสารมวลชน

“ศักดิ์ชัย พฤฒิภัค”

คือหนุ่มสุดท้ายในบรรดา 5 หนุ่มที่เป็นกรรมการ ปัญญาวุฒิมูลนิธิ ซึ่งซึมซับประสบการณ์งานสื่อมาแล้วจากมากมายหลายสำนัก ครบคลุมทั้งหนังสือพิมพ์-นิตยสาร-วารสาร-วิทยุ-ทีวี รวมทั้งสื่อยอดฮิตในปัจจุบัน…สื่อออนไลน์


ทั้ง 5 หนุ่ม”เบญจภาคี” แม้จะมาจากต่างที่ มีทักษะ ความรู้ ประสบการณ์ที่แตกต่างหลากหลาย แต่มีปณิธานร่วมกันในการ”ก่อการดี” ที่ต้องการขับเคลื่อนมูลนิธิปัญญาวุฒิ เพื่อตอบโจทย์หลัก 4 ประการร่วมกันคือ1). ส่งเสริม-สนับสนุนให้ประชาชนเข้าถึงสื่ออย่างรู้เท่าทัน2). ส่งเสริม-สนับสนุนกิจกรรมศิลปะ-วัฒนธรรม-วรรณกรรม-บันเทิง3). ส่งเสริม-สนับสนุนการศึกษา ค้นคว้าทางวิชาการที่เกี่ยวพันกับสื่อสารมวลชน ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และบันเทิง4). ส่งเสริม-สนับสนุนการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านสื่อสารมวลชน ศิลปวัฒนธรรม วรรณกรรม และบันเทิงสรุปรวบยอดให้เข้าใจง่าย-จำง่าย…ปัญญาวุฒิมูลนิธิ มีความมุ่งมั่นที่จะเป็นทั้ง”วัคซีน ป้องกันสื่อพิษ-เซรุ่ม กำจัดพิษสื่อ-วิตามินบำรุงสื่อน้ำดี” เพื่อความเจริญงอกงามขององค์ความรู้-ภูมิปัญญาไทย…และวัฒนธรรมไทยบนเวทีสากล

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save